เคมีภัณฑ์สำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการชุบเคลือบผิวโลหะ
ปัจจุบันกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมกลุ่มสินค้าที่เชื่อมโยงกับระบบดิจิตัล (Smart Device) มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้กับยานยนต์ ทำให้มีการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้งานในอนาคต
ดังนั้น จึงทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมชุบเคลือบผิวโลหะเป็นที่ต้องการในตลาดเพิ่มมากขึ้น เพราะเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการที่ทำให้เกิดชิ้นส่วนต่างๆ ของรถยนต์ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมกลุ่มสินค้าดิจิตัล เพื่อให้นำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้เคมีภัณฑ์ให้เหมาะสมกับประเภทของชิ้นงาน Condition ที่ต้องการ และประเภทของการชุบ โดยกระบวนการชุบชิ้นส่วนต่างๆ มีหลากหลายประเภท เช่น
1. การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า (Electroplating)
2. การชุบโลหะแบบไม่ใช้ไฟฟ้า (Electroless plating)
3. การชุบโลหะแบบอื่นๆ (Other surface finishing technologies)
นอกจากกระบวนการชุบที่สำคัญแล้วยังมีอีกหนึ่งกระบวนการที่สำคัญเช่นกัน คือขั้นตอนการล้างเครื่องจักร และการลดฟองที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานของเครื่องจักร เพื่อให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเป็นการยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร บริษัท พาต้า เคมีคอล จึงได้วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับล้างเครื่องจักร และเคมีภัณฑ์ที่ใช้ลดฟองสำหรับกระบวนการชุบแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะ
หลังจากชิ้นงานผ่านกระบวนการชุบและกระบวนการล้างคราบ Dry film ออกจากชิ้นงานแล้ว สิ่งที่ตามมาคือคราบ Dry film และคราบอื่นๆ ที่เกาะตามเครื่องจักรซึ่งเป็นคราบที่น้ำสะอาดทั่วไปไม่สามารถทำความสะอาดและเอาออกได้ จนอาจทำให้เกิดปัญหาในการทำงานของเครื่องจักรตามมา
• เคมีภัณฑ์สำหรับล้างเครื่องจักร (GT-01)
มีคุณสมบัติในการกำจัด Dry film ได้อย่างดีเยี่ยม รวมถึงสารตกค้างของสารลดฟอง และสารตกค้างที่กำจัดได้ยากภายในหัวฉีดและท่อ โดยไม่จำเป็นต้องใช้อุณหภูมิสูงในการทำงานเพื่อช่วยลดการใช้พลังงาน และยังเป็นสารทำความสะอาดตู้ล้างที่ไม่เหมือนรุ่นก่อนๆ อีกทั้งยังเป็นน้ำยาทำความสะอาดอุปกรณ์แบบละลายน้ำได้ที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับน้ำยา Developer และน้ำยาลอกของสารไวแสง
กระบวนการ dry film เป็นการกำจัด dry film ที่เคลือบไม่ติดด้วยน้ำยา developer โดย dry film เป็นเรซินที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนที่ไวต่อแสง และน้ำยา developer เป็นสารทำละลายโซเดียมคาร์บอเนต เนื่องจาก dry film ละลายอย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำยา developer สร้างฟองขึ้นมาในระบบสเปรย์แบบหมุนเวียน ตัวฟองจะส่งผลต่อคุณภาพของน้ำยา developer ในระดับหนึ่ง ซึ่งจะทำให้กระบวนการผลิตติดขัดและส่งผลต่อกำหนดการการผลิต เพราะฉะนั้นการผลิตในภาคอุตสาหกรรมควรเพิ่มกระบวนการทำความสะอาด cylinder และควรใช้สารลดฟองเพื่อป้องกันการเกิดฟองด้วย
• เคมีภัณฑ์สำหรับลดฟอง (Defoamer 70C)
Defoamer 70C เป็นผลิตภัณฑ์ปรับปรุงใหม่ที่ไม่มีส่วนผสมของซิลิโคน ทำหน้าที่เป็นสารป้องกันการเกิดฟองในน้ำที่ไม่ใช่ตัวทำละลาย ใช้สำหรับน้ำยา Developer น้ำยาลอก และกระบวนการ Solder mask Defoamer 70C สามารถลดการเกิดฟองได้อย่างรวดเร็ว และช่วยป้องกันการเกิดฟองในระยะเวลานานได้ ถึงแม้จะใช้ในปริมาณที่น้อยมาก อีกทั้งยังช่วยกำจัดฟองในบ่อน้ำล้างได้อย่างดีเยี่ยมโดยไม่ทิ้งสารตกค้างบนอุปกรณ์
คุณสมบัติเด่นของ Defoamer 70C
⁃ สามารถกำจัดฟองและยับยั้งการเกิดฟองได้อย่างดีเยี่ยม
⁃ มีประสิทธิภาพแม้ทำงานในความเข้มข้นต่ำและอุณหภูมิต่ำ
⁃ สามารถกำจัดฟองในบ่อน้ำล้างได้ทั้งหมด
⁃ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและค่าสารเคมี
โดยทางบริษัท PATA CHEMICALS AND MACHINERY ได้มีผลิตภัณฑ์สำหรับกระบวนการดังกล่าวเพื่อรองรับเกี่ยวกับอุตสาหกรรมชุบเคลือบผิวโลหะ และพร้อมให้คำแนะนำกับผู้ที่สนใจ สามารถเข้ามาผู้คุยกันได้ที่งาน Surface & Coatings 2024 บูธ 0E19 ฮอลล์ 100 วันที่ 19 - 22 มิถุนายน 2567 ณ ไบเทค บางนา